ถ่ายภาพพานอรามา ด้วย MDM   Leave a comment

มองๆหาแอพถ่ายภาพพานอรามา ซึ่งควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • ใช้บนไอแพด
  • ถ่ายได้ 360 องศารอบตัว
  • มีไกด์บอกระดับและปรับแสงให้เท่ากันดดยอัตโนมัติ
  • มีที่เก็บภาพทั้งในเครื่อง ในคลังภาพ และบนเซิร์ฟเวอร์อินเตอร์เน็ต
  • ระบุตำแหน่งในรูปได้
  • ไม่มีจีพีเอสก็ถ่ายได้

เริ่มต้นถ่ายจะมีหยินหยางวิ่งเข้าประกบกันพอเป็นไกด์ไลน์ พร้อมระดับนํ้า

  • ตั้งชื่อภาพเป็นภาษาไทยได้ พร้อมรายละเอียด ที่ตั้ง
  • ค้นหาภาพของคนอื่นที่อยู่ใกล้ๆเราได้
  • รูปที่ถ่ายต่อกันเอง และเร็วพอไม่ต้องนั่งรอ
  • ฟรี

แอพตัวนี้ทำได้หมด ทุกอย่างข้างต้น ยังมีแถมท้ายอีก เช่น

  • ใช้ลิงก์เข้า Facebook หรือ Tweeter ได้
  • ดุภาพพานอรามา แบบสไลด์โชว์

รูปการใช้ My Gallery

 

วิธีใช้งาน  

  • พอเปิดโปรแกรมจะอยู่ในโหมดถ่ายภาพ แค่กดปุ่ม Start แล้วเล็งให้ขนานพื้นหมุนช้าๆไปรอบตัว 360 องศาก็แค่นั้น
  • เมนูนอกจากโหมดถ่ายก็จะมี อีก 3 โหมดคือ โหมด My Gallery  โหมด Public Gallery และโหมด Setting
  • โหมด My Gallery จะเป็นการดูรูปในเครื่องเรา
  • โหมด Public Gallery เป็นการดูรูปในเซิร์ฟเวอร์ของ  Demandar ถ้าเราต้องการอัพรูปขึ้นบนเซิร์ฟนี้่ ต้อง Signin ไว้ก่อน
  • โหมด Public Gallery จะมีโหมดย่อยคือ ใกล้ๆเรา Near me , ล่าสุด Lastest , น่าสนใจ Trending

น่าสนใจที่สุดจะเป็นการไปเที่ยวแล้วเราได้อัพภาพ 360 องศา พร้อมคำบรรยายให้คนอื่นได้เห็น เมื่อจะมาหรือมาเที่ยวที่ๆนั้นบ้าง

และดูภาพที่ท่องเที่ยวที่ๆเราจะไปเที่ยวว่าทัศนีภาพเป็นอย่างไร  บอกคำเดียว สุดยอดมากสำหรับแอพนี้

Posted 3 ตุลาคม 2012 by The PAT in ไอแพด

Tagged with , , ,

แอพแผนที่บน iOS6   Leave a comment

วันนี้ลองเอาแอพแผนที่ MAP iOS6 มาลองนำทางดู ปรกติไม่เคยใช้กูเกิ้ลแม็พนำทางเลย ขี้เกียจหา

ง่ายมากๆ
1.ปักหมุดไว้ ที่ไหนที่อยากไป
2.กดปุ่มซ้ายบนที่เขียนว่า “เส้นทาง”
3.กดปุ่มเริ่ม

Vector-Based Maps in iOS 6 | Geography Education | Scoop.it

 

ง่ายมาก และโคดตะระเวิิร์คเลย ดีกว่ากูเกิ้ลแม็พอีก
หมุดที่ปักไว้เพิ่มข้อมูลเข้าไปโดยการกดที่มันค้างไว้แล้วเลือก ปุ่ม i
จากนั้นเลือกว่าจะ
– เพิ่มไปที่รายชื่อดีหรือ เพิ่มไปที่คั่นหน้าเว็บ หรือจะส่งที่ตั้งไปเป็นเมลล์//เฟคบุ๊คก็ได้

บุ๊คมาร์คของแผนที่มีให้เลือก 3 อ๊อฟชั่น
1 ที่คั่นหน้าเว็บ
2 ล่าสุด คือตำแหน่งที่เราสร้างล่าสุด
3 รายชื่อในสมุดโทรศัพท์ เอามาลงตำแหน่งก็นำทางได้

Posted 2 ตุลาคม 2012 by The PAT in ไอทีอุปกรณ์และโปรแกรม

Tagged with

F-35   Leave a comment

จุดอ่อน F-35 เรื่องมุมแสกน แก้ด้วย

1 การสื่้อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบสองทาง ของ AN/APG-81 ระหว่าง F-35 ด้วยกันโดย MIDS datalink อยู่ที่ 548 megabits per second (548 Mbs)
เร็วกว่า Link-16 มาก F35 มีทั้งสองระบบ ใช้เรดาร์ผสานกันได้ หรือใช้ของลำอื่นได้ด้วย รวมถึงการอยู่ในรัศมีกว่า 500 กิโลเมตร ตรวจจับ นำทาง ชี้เป้า แจมมิ่งโดย  AWACS

2 มันเป็น VLO ไม่ใช่ LO อย่างที่เข้าใจ

3 มีระบบเสริม คือ
–electro-optical targeting system (EOTS) with forward-looking infrared (FLIR)
ทำให้หาเป้าหมายภาคพื้นดินในพื้นที่ๆสนใจ

–inverse SAR” mode used to detect and identify surface vessels at sea. As the name implies,”forms a composite picture of a ship based on the vessel’s motion on the sea
— SAR mode, in which the radar software forms a composite picture of a ground target based on the movement of the aircraft.
–infrared search-and-track (IRST) system
–electronic warfare suite ทำสงครามอิเลคโทรนิคส์ได้ในตัว เช่นล็อค-แจมมิ่งสถานีเรด้าร์
–communication, navigation and identification (CNI) suite, providing identification friend or foe (IFF) and offboard data delivered via a high-speed data link
สื่อสารความเร็วสูง นำทาง และแยกแยะฝ่ายด้วย CNI
–electro-optical distributed aperture system (DAS)  มีกล้องความร้อนรอบตัวจำนวน 6 กล้อง โดยไม่ต้องใช้พ็อดช่วย (ค้นหา–วิเคราะหื–เตือนภัย–ตามเป้า)

4 เรด้าร์อัตโนมัติทุกขั้นตอน คือ แสกน เจอ แทรคติดตามเป้าอัตโนมัติ ส่งข้อมูลนำวิถีให้อาวุธปล่อยจนกว่าจะชนเป้าหมาย ยังเสริมด้วยเมื่อใช้อาวุธปล่อย(ระเบิด) จะชี้เป้าด้วยเลเซอร์อัตโนมัติจนกว่าจะเข้าเป้า


5 APG-81 has no moving parts, such as gimbals and motors, and little wiring to wear out. It is expected, therefore, to offer a long lifespan; a Northrop Grumman official claims 8,000 hours
APG-81 ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหว ใช้งานได้ถึง 8000 ชั่วโมงบินก่อนซ่อมใหญ่

6 APG-81 comes with a synthetic aperture radar (SAR) terrain mapping function for air-to-surface surveillance and targeting. It is comparable to the terrain mapping radar used in reconnaissance aircraft, unmanned air vehicles, and the E-8C Joint Surveillance Target Attack Radar System (Joint STARS) aircraft.
มีระบบแผนที่ภาคพื้นดิน ที่เข้ากับระบบค้นหาเป้าหมายให้อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้น

7 จอ LCD ใหญ่ยักษ์ 8×20 นิ้ว พร้อม หมวก HMD

The pilot presses the screen again, and target designation and weapons status imagery appears on the visor of his helmet-mounted display (HMD). Closer in, he views the target, now being automatically tracked; the crosshairs in the visor lock on to the target; and the pilot fires a missile that follows a laser beam to its destination. The pilot again views the MFD and notes that the target has been destroyed.

8 แล้วแต่ภารกิจ

  • รัศมีทำการ 635 NM ราว 1000 กิโลเมตร เพิ่มถังนํ้ามันภายนอก และเติมเชื้อเพลิงภายนอกได้
  • มีตำบลติดอาวุธภายนอกได้

อ้างอิง

http://www.aviationtoday.com/av/military/F-35-Integrated-Sensor-Suite-Lethal-Combination_1145.html

http://www.slideshare.net/CoddeL/f35-product-development-approach-2012

Posted 18 กันยายน 2012 by The PAT in Uncategorized

จดเมโมด้วย MemoCal   Leave a comment

เป็นคล้ายปฎิทินตั้งโต๊ะ  ใช้จดบันทึกลงบนเนื้อปฎิทิน เตือนกันลืมแบบขำๆ ง่ายๆด้วยลายมือ  ใช้ปากกาสีได้  เลือกขนาดเส้นปากกาได้

มี  3 ตัว

MemoCal Lite สำหรับไอแพดฟรี มีนาฬิกาอะนาล็อคให้ด้วย เอามาทำเป็นปฎิทินตั้งโต๊ะได้

MemoCal Plus เป็น MemoCal Lite Upgrade to Pro ทำให้ติดรูปถ่าย  หรือเลือรูปเอามาเป็นแบ็คกราว์นได้  ใช้ได้ในแนวนอน $0.99

MemoCal Mini สำหรับไอโฟนฟรี ติดรูปถ่าย ใช้ได้ในแนวตั้ง ถ่ายรูปเอาหรือเลือรูปเอามาเป็นแบ็คกราว์นได้

iPhone Screenshot 1

เปิดแอพมาเป็นตารางเดือน จิ้มไปที่วันที่ที่ต้องการก็จะเปิดออกเป็นที่เขียนบันทึกด้วยลายมือ มียางลบ และที่ติดสัญลักษณ์ เพียงแค่นี้เอง

ว่ากันตามความเห็นส่วนตัว ใช้ไอแพดแล้วเป็นแอพที่น่าเสียเงินซื้อMemoCal Plus มาก เพียง 33 บาทจะได้แบบนี้ อย่าลังเล

ข้อดีกว่า Memo ตัวอื่นคือ มองภาพรวมรายเดือนได้ดีกว่า

Posted 28 สิงหาคม 2012 by The PAT in ไอทีอุปกรณ์และโปรแกรม

Tagged with

ทำบัญชีส่วนตัวบนไอแพดด้วย Pocket Expanse   Leave a comment

ทำบัญชีส่วนตัวบนไอแพด

รายละเอียด

Pocket Expense มีตัวฟรีชื่อ ExpenseFree มีฟังก์ชันด้านการเงินค่อนข้างดี และฟรีเอาไว้บันทึกการเงินรายรับรายจ่ายได้เป็นอย่างดี และเข้าใจได้ง่าย

Pocket Expense ทำการแยกบัญชีออกเป็นกองๆหรือเรียกว่าเล่มๆก็ได้ ซึ่งเล่มที่เราสนใจคือรายรับรายจ่าย เล่มอื่นที่สามารถตั้งให้ทรานเฟอร์เงินมาเข้าออกบัญชีเราอาจจะเป็นบัญชีเงินกู้ยืม บัญชีบัตรเครดิต เราแยกออกไปเลยได้ ยังทำกราฟเพื่อวิเคราะห์รายการได้ด้วย

ในแต่ละเล่มบัญชีจะแสดงการ รับ-จ่าย-ทรานเฟอร์ ได้ และมีเงินตั้งต้นได้หนึ่งตัว

มีประเภทรายการมาให้แบบตั้งต้น เราเปลี่ยนแปลง ลบ แก้ไข เพิ่มเติมได้
√บันทึกสถิติกราฟรายวัน/รายสัปดาห์/รายเดือน/รายปี
√ ติดตามได้แยกเป็นแต่ละบัญชี

BUDGET MANAGEMENT
ระบบบัดเจ็ทช่วยให้ดูยอดบัดเจ็ทเงินคงเหลือ แต่ละประเภทรายการตั้งแยกกันไป

TRACK YOUR BILLS
Pocket Expense ตั้งบิลรับจ่ายล่วงหน้าได้เพียงยังไม่กระทบบัญชีเท่านั้น

มีฟังก์ชัน:
– ตั้งพาสเวิส์ด
– มีช่องกรอก ผู้รับเงิน ผู้จ่ายเงิน
– ดูยอดเงินแต่ละบัญชีได้

ฟังก์ชันที่มีประโยชน์มาสุดคือ wifi backup and restore บนพีซี ทำให้ถ่ายเทข้มูลไปใช้รุ่นไม่ฟรีได้หรือเครื่องไอแพด ไอโฟนเครื่องอื่นๆได้ เพียงรีสโตร์ข้อมูลกลับมา

ช่วยคุณบริหารการเงินบนไอแพดได้สมบูรณ์พกพาได้ สุดยอดไหม

FlickrPhotos บนไอแพด   Leave a comment

เคยแนะนำไป Flickstackr ไปแล้วใช้ดีไหมครับ วันนี้มาลองตัวฟรีอีกตัว คือแอพ FlickrPhotos

Flickr Photo Explorer Free
แอพ FlickrPhotos ฟรี มีหน้าตาหน้าต่างนำเสนอที่สวยดี เป็น Flickr Photo Explorer
มีเมนูดังนี้
  • Insterestingness ภาพที่น่าสนใจ
  • Text search ตัวนี้น่าสนใจมาก หารูปได้ตรงกว่า Google อีก รูปสวยๆทั้งนั้น ยกให้เลย แหร่มเป็ด เพียงพิมพ์คำที่คุณต้องการดูรูป
  • Popular Tags
  • Group Search
  • Owner List แสดงรายชื่อเจ้าของภาพ ที่ทำ “Add to” ไว้ [Output*2]
  • Recent Uploads (เท่ากับ Recent from Everyone)
  • Map Search (เทียบเท่า GeoSearch)
  • Me ใช้ดูรูปในแอคเค้าท์ล็อคอินของเราเอง
    • Activity
      • Photos Commented
      • User Photos
    • Photos
      • All Photos รูปทั้งหมดของเราที่มี
      • Public Photos รูปทั้งหมดของเราที่แสดงแบบ Public
      • Favorites รูปที่เราชื่นชอบ
      • Public Favorites รูปที่เราชื่นชอบที่แสดงแบบ Public
    • ContactsPhoto Sets เจอเซ็ทของคุณ ยูสเซอร์ทั่วไปจะมีได้ 3 เซ็ท
      • Contacts รายนามคนที่เราเก็บชื่อไว้
      • Contacts’ Photo รูปของรายนามคนที่เราเก็บชื่อไว้
    • Galleries แสดงรูปในแกลอรี่ของคุณ [Output*3]
    • Groups กรุ๊ปที่คุณเป็นสมาชิก
  • Config ตั้งค่า

ดูเมนูไปแล้ว มาดูความสามารถแสดงภาพแต่ละภาพกันบ้าง มีดังนี้

  • ทำสไลด์โชว์
  • สามารถกวาดนิ้วซ้าย ขวาดูรูปถัดไป หวาดขึ้น เพื่อย่อภาพเป็นโหมด Browser ตาราง
  • Add to Favorites หรือ View who Favourite : ดูว่าใครคอมเม้นท์บ้าง
  • Comment เขียนคอมเม้นท์
  • ดูในเว็บ Flickr.com โดยตรง
  • ส่งภาพออก Email / Facebook หรือดู EXIF
  • MAP ดูว่ารูปนี่ถ่ายที่ไหน
  • Add to
    • Owner List เก็บลิงก์เจ้าของภาพไว้ที่นี่[Input*2]
    • Owner List and go to เก็บลิงก์เจ้าของภาพพร้อมๆไปที่ flickr ของเจ้าของรูป[Input*2]
    • Add to Gallery เก็บรูปไว้ที่เเกลอรี่ สามารถเพิ่มโฟลเดอร์ได้[Input*3]
  • Download ดาว์นโหลดรูปเก็บไว้ใน Film Rolls
  • Description คำอธิบายรูปภาพ
iPhone Screenshot 1

ข้อดี

  1. สามารถจับ Owner List เก็บไว้ได้
  2. สามารถจับรูปชาวบ้านทำ Galleries ได้
  3. สามารถ save รูปได้เก็บไว้ใน Film Rolls
  4. มี MAP ดูว่ารูปนี่ถ่ายที่ไหนได้อย่างเร็วมาก
  5. Text search ค้นหาง่ายดาย

ข้อเสีย

  1. เวลาต่อภาพกินระยะเวลานาน = เวลาแสดงรูป + เวลาดาว์นโหลดรูปเก็บไว้ใน Film Rolls = ต้องรอให้เสร็จก่อนถึงจะไปทำอย่างอื่นได
  2. รูปแบบเก็บรูปไว้ที่เเกลอรี่ มันเข้าใช้งานหลายคลิ๊ก เสร็จแล้วต้องถอยหลังออก ไม่สะดวกอย่างมาก เมื่อเทียบกับ FlickStackr
  3. เมนูไม่สวย เข้าถึงยาก ไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้ มีหลายฟังก์ชั่นทำให้สับสน ไม่เป็นสัดส่วน แอดๆยังไง แอดเข้าไปแล้วไปออกที่ไหน จะถอยหลังกลับยังไง งงจริงๆ
  4. ไม่มีระบบอัพโหลดรูปเข้า Flickr อันนี้ FlickStackrดีกว่า

สรุป  น่าใช้พอสมควร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ผมโดยส่วนตัวเอา FlickrPhotos ไว้ save รูปจาก flickr มาใส่ Photo Library กลาง และอ่านเข้าแฟ้มรวดเดียวด้วย USBSharpPro(FlickrPhotos –> Photo Library –> USBSharpPro)

ไม่ลืมที่จะเมม Owner List ไว้ เพื่อมาเปิดดูภายหลัง

ถ้าเป็น FlickStackr จะจบในตัวเอง มีโฟลเดอร์และล็อคได้

FileExplorer แอพเล่นไฟล์เเชร์ริ่ง   Leave a comment

FileExplorer APP 
  • เป็นแอพดูไฟล์ที่เข้าถึงวินโดว์(XP ,Vista ,7) ลีนุกซ์ แมคได้ผ่านไฟไว-ไฟล์เเชร์ริ่ง เอามาเล่นไฟล์บนไอโฟนไอแพด โดยไม่ต้องไปนั่งหน้าพีซีให้เสียเวลาแบบ Wifi-Transfer
  • เล่นได้ทั้งดูหนัง ฟังเพลง ดูรูป ดูเอกสาร
  • เข้าถึง Dropbox และ Google Drive ไม่จำกัดไอดี ยังเก็บไฟล์ใส่ iCloud  ของ Apple ได้
  • มี FTP Server ในตัวเอง สะดวกต่อ วินโดว์ ลีนุกซ์ แมค จะดึงไฟล์จาก FileExplorer ผ่านบราว์เซอร์อย่าง IE ,Chrome ,Firefox ด้วย ftp://192.168.1. …..:
  • ที่ชอบที่ไม่มีบนตัวอื่น คือ การสตรีมไฟล์หนัง FLV เลื่อนภาพได้ ยังดูรูป ดูPDF แล้วซูมได้ ปัดเลื่อนไฟล์ได้
  • มี Open in App… ทำให้ใช้แอพอื่นเปิดได้ และที่เปิดได้พอๆกันก็มีแต่ USB Sharp Pro
  • มี History กดดูจะรู้ว่าเล่นไฟล์อะไรไปแล้วบ้าง
 
รองรับไฟล์:
Document pdf ,rtf , txt  ,MS Office ,iWork
Image: JPG, PNG, TIFF ,BMP
Audio: MP3, AAC, AIFF, WAV
Video: XVID,AVI,MKV,RMVB,WMV,FLV,MOV, MP4, M4V,MPV 
Web HTML
ข้อดี
1. เอาไฟล์เข้าระบบของ FileExplorer ง่ายจากวินโดว์แชร์ไฟล์ จาก dropbox หรือ google drive
  • เครื่อง/ระบบที่เอามาแชร์ ไม่จำกัดแหล่ง-จำนวน
  • ทำ FTP Server ได้
  • upload / download ข้อมูลได้
  • download ข้อมูลเข้าพีซีได้โดยผ่าน Browser FTP
2. เล่นไฟล์แบบสตรีมมิ่ง
  • เล่นภาพเลื่อนภาพ ซูมภาพได้
  • ซูมภาพ ถือว่าดีกว่าแอพอื่นที่ส่วนใหญ่จะซูมไม่ได้
  • เล่นเพลงแบบสตรีม
  • เล่นหนังแบบสตรีม เลื่อนภาพใน FLV ได้
 ข้อเสีย
  1. อ่าน ZIP ,RAR แตกไฟล์ไม่ได้
  2. ไม่มี WIFI Transfer
  3. ดึงเอา Photos ในฟิล์มโรลล์มาเก็บไม่ได้ เพียงแต่ดูได้เลย
  4. มีบัค ชอบดับเอง

สรุป  เอาไว้เล่นไฟล์จากพีซี หรือทรานเฟอร์ไป USBsharpPro

Posted 15 สิงหาคม 2012 by The PAT in ไอแพด

Tagged with

ดูหนังด้วย NAS   Leave a comment

NAS ให้ลองนึกถึงการแชร์โฟลเดอร์(Share folders/SMB)และไฟล์โดยวินโดว์ผ่านระบบแลน  NAS ย่อมาจาก Network Attack Storage ทำการแชร์ง่ายๆจากวินโดว์ แมค และลีนุกซ์ นั่นใช่เลย สำหรับวินโดว์แค่อยู่ที่โฟลเดอร์คลิ๊กขวา เลือกแชร์ Sharing and Security ก็เสร็จแล้ว
 
 
ทีนี้พูดถึงตัวรับการดูหนังผ่านแอนดรอย์ยังไม่พูดถึง 
 
บนไอแพด
มาดูไอแพดก่อน  ดูจากเครื่องที่มีการแชร์ไฟล์ในวินโดว์ เรามาทำการทดสอบกัน ในที่นี้มีแอพอยู่หลายตัว เลือกเอาที่ฟรีก็มี
 
 
FileExplorer Free แชร์ได้ทั้ง NAS และ Dropbox / Google Drive
สำหรับ fileExplorer จะแสกน Network Neighborhood โดยอัตโนมัติ
สามารถเล่นหนังได้หลายๆฟอร์แมท อาทิ XVID,AVI,MKV,RMVB,WMV,FLV,MOV, MP4, M4V,MPV
แบบสตรีมทั้งพลง หนัง
สามารถเลื่อนไฟล์หนังโดยไม่ติดขัด เลื่อนภาพได้
ดูภาพค่อนข้างช้าต้องการโหลดเสร็จก่อน ซูมได้ ภาพคมชัดมาก
 
ข้อจำกัดรุ่นฟรี 
  1. ใช้ได้แค่ NAS เครื่องเดียว
  2. ใช้ Dropbox ,Google Drive ไม่ได้
  3. ใช้ XVID,AVI,MKV,RMVB,WMV,FLVไม่ได้
  4.  

ซึ่งแค่นี้ก็พอแล้ว

 
 
โดยสรุปความเห็นส่วนเครื่อง Server
ถ้าใช้ Windows XP เราใช้วิธีนี้แทน DLNA ได้สะดวก แต่ไม่เหมาะกับระดับผู้ใช้ตามบ้าน เนื่องจาก
  • การแชร์กระจัดกระจาย ไม่รวมศูนย์ เสี่ยงต่อไฟล์รั่วไหล นานๆไปลืม อะไรเเชร์ อะไรไม่แชร์
  • การจัดการเพลง ภาพ หนังไม่มี ขึ้นกับเราจัดโฟลเดอร์
  • ติด permission ที่สลับซับซ้อน
  • คนที่เข้าถึงระบบแลนก็จะแชร์ไฟล์ไปได้ง่ายๆ

ถ้าเล่นตัวนี้ก็จะย้อนกลับไปหา Video Stream ที่เป็นเฉพาะกิจมาใช้อีก

โดยสรุปความเห็นส่วนเครื่อง iPad

  • ใช้ไฟล์ได้กว้างกว่า อะไรที่อยู่ในโฟลเดอร์มาหมด ขึ้นกับแอพจะอ่านได้หรือไม่
  • เหมาะกับการใช้งานเดี่ยวๆ คนเดียว
  • หาแอพฝั่งไคลเอนท์ดีและฟรียาก FileExplorer ราคา $4.99
โดยสรุปความเห็นเครื่อง Archos(แอนดรอยด์) 

  • ใช้แอพ Files อ่านได้เกือบทุกฟอร์แมทโดยแอพเสริมภายนอก ใช้ได้ทั้ง SMB และ DLNA
  • เหมาะกับแอนดรอยด์

ลองเล่น DLNA   Leave a comment

 DLNA (Digital Living Network Alliance)
 
 DLNA เป็นมาตรฐานการร้องขอการส่งผ่านการเล่นมีเดียข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์แบบสตรีม หนัง(หนังแบบไวไฟสตรีมมิ่ง คือการดูหนังไร้สายโดยไม่ต้องดาว์นโหลดไฟล์ให้จบก่อนเล่นภาพ) เพลง รูปภาพ ให้แก่ไคลเอนท์ต่างๆ เนื่องจากเป็นการใช้มาตรฐาน ดังนั้นเราจึงเลือกได้ทั้ง 2 ฝั่งอิสระต่อกัน จะใช้แอพอะไร โปรแกรมอะไรหรือฮาร์ดเเวร์อะไรก็ได้
 
จุดประสงค์การทดลอง
 
เพื่อทำที่เล่นหนังไว้ใช้เองในบ้าน เคยคิดจะซื้อทีวีจอแบน ซื้อ HD media player ไว้ดูหนัง HiDef
ไม่ ต้องแล้ว ถ้าสำเร็จ ไม่เพียงไม่ต้องมี 2 ตัวนั้นก็ได้ พีซีโน๊ตบุ๊คเก่าๆสักตัว กับเร้าท์เตอร์ตัว และไอแพดตัวก็เป็นเครื่องบันเทิงในบ้านได้แล้ว
 
การทดลอง
 
ใช้ Wireless Router เป็นเครือข่ายแลนไปสู่คอมเครื่องต่างๆ
มี Server ไว้จ่ายไฟล์ 1 ตัว
มีตัว คอนโทรล และหรือ ตัวเล่นภาพ แสดงภาพ 1 ตัว
 
อาจมีตัวเล่นภาพแท้ๆ 1 ตัว คือ TV
อาจมีตัวพรินเตอร์ DLNA ได้ด้วย
อาจมีตัวโปรเจ็คเตอร์ DLNA ได้ด้วย
อาจมีตัวเพลย์เยอร์ที่มีฮาร์ดดิส์กทำหน้าที่เป็น Server ก็ได้
Digital media servers (DMS)
 
 
DLNA Server for windows
 
 
 
Windows Media Player (Windows 7)
  1. ฟรี
  2. ไม่ตั้งติดตั้ง
  3. แค่เลือกโฟล์เดอร์พาธ์ทที่ต้องการแชร์ไฟล์
  4. เลื่อนภาพได้
 
 
Serviio  [serviio console 0.6.2]
  1. ฟรีแวร์
  2. กินทรัพยากรน้อย ตั้งแชร์โฟลเดอร์ และเลือกชนิดที่จะแชร์ได้ รองรับ
  3. ดีเท็คง่าย เป็นเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียว
  4. Audio: MP3 wma  AAC(.m4a), OGG (.ogg, .oga), FLAC (.flac)
  5. Video: MPEG-1 (.mpg, .mpeg), MPEG-2 PS (.mpg, .mpeg, vob, mod), MPEG-2 TS (.ts, .m2ts), MPEG-4 (.mp4, m4v, mov), AVI (.avi, .divx), Windows Media Video (.wmv, .asf), Matroska (.mkv), Flash (.flv, .f4v), DVR-MS (.dvr, .dvr-ms), WTV (.wtv), OGG (.ogv, .ogm), 3GP
  6. Image: JPEG (.jpg, .jpeg), GIF PNG
  7. ข้อเสีย ไคเอนท์ส่วนมากไม่สามารถเลื่อนภาพไฟล์หนังได้ 
JRiver Media Center  
  1. เป็นตัวทดลอง 30วัน ราคา 1200 บาท
  2. รองรับฟอร์ตแมทมากมาย
  3. DLNA ต้องการการปรับ setting ให้ทำงาน DLNA Share ก่อน
  4. ดีเท็คได้ใน AcePlayer และเลื่อนภาพได้
  5. อยากแชร์ต้องเปิดโปรแกรมไว้ตลอด
  6. เป็น Player ในตัว
DLNA Server for Android  
 
มี Skifta  ,MediaServer ,BubbleUPnP
 
MediaServer เหมาะสำหรับทำแอนดรอยด์ความจำน้อยๆเป็น DMS สามารถตั้งเปิดปิดได้ ขนาดเล็กมาก
  1. ทำงานไว / ขนาดเล็กมาก 1MB / ดีเท็คยาก
  2. จ่ายรูปคุณภาพสูงไม่แตก
  3. ใช้คู่กับ XMBC Media Player HD  ภาพสวย เลื่อนหนังได้
  4. ใช้คู่กับ AcePlayer เห็นเซิร์พเวอร์ แต่ดูข้างในไม่ได้
BubbleUPnP
  1. ทำงานไว / ขนาดไม่ค่อยใหญ่ 5MB  / ดีเท็คง่าย 
  2. จ่ายรูปคุณภาพสูงไม่แตก
  3. การจัดการพลังงาน Server ดี ไม่กินแบต
  4. ตัวไคลเอนท์บางตัวมองไม่เห็น เช่น 8playerlite แต่ก็อบจาก AcePlayer ได้
  5. AcePlayer เลื่อนภาพได้ใน Movie ทดสอบกับไฟล์ FLV ซึ่งทำไม่ได้กับ Serviio
  6. ถ้าไม่มีการตอบรับ โปรแกรมสามารถสั่ง Sleep ได้หน่วยเป็นนาที
  7. Server + Render ในตัว / มีอ็อปชั่นปิด DMR ได้
  8. มีการตัดฟังก์ชัน:::ต้องการตัว Licence เพื่อเปิด

=================================================

 
DLNA Media Player for iPad
 
ใช้บางทีฟรีชื่อ ACE Player  
  1. ข้อดี เล่นหนังได้มากนามสกุลกว่าเช่น FLV VOB KVM
  2. ดูรูป ภาพสวย
  3. เล่นหนัง DLNAไม่ลื่น เมื่อใช้กับ Serviio
  4. เล่นหนัง DLNA ลื่น เมื่อใช้กับ BubbleUPnP Media Server for Android
 
ใช้ฟรีแวร์ชื่อ 8player lite
  1. ตัวนี้ดีสุดเลื่อนหนังได้ไม่สะดุดกับ Serviio 
  2. ดาว์นโหลดไฟล์มาดูภายหลังได้  อ่านได้หลากหลายฟอร์แมท
  3. จำกัด ดูได้ทุกโฟลเดอร์ๆละ 5 เรื่อง อารมณ์ประมาณ Air Video Free ที่จำกัดไว้ 3-4 เรื่อง และ 3 โฟลเดอร์ ถ้าซื้อก็ $4.99 แบ่งโฟลเดอร์เอาก็ได้ แทนที่ได้ทั้ง  iMeda Control,ACE Player,Air Video,Air Playit
  4. ข้อเสีย หา DLNA Server ไม่ค่อยเจอ
  5. ฟังเพลง ดูรูป ไม่ดีเพราะได้ 5 ภาพต่อโฟลเดอร์ 
  6. ชื่อไม่ตรงกับภาพ เพลง หนัง
 ใช้ฟรีแวร์ชื่อ XMBC Media Player HD 
  1. ตัวนี้ต้องลงทะเบียนครั้งเดียวใช้งานได้ทุกตัว
  2. ดูได้ตั้งแต่ ของ XMBC Flickr Picasa Youtube Facebook DLNA (DMP) สารพัดประโยชน์จริงๆ ถ้าจะแทนตัวแอพได้หลายๆตัว เป็นแอพของพวกทีวีทั้งหลายจาก Zappo
  3. ข้อดี เล่นภาพจาก Flickr ,Picasa แล้วอัพขึ้น Facebook ได้
  4. รู้สึกว่าแบตจะลดอย่างรวดเร็ว
  5. ฟังเพลง ดูรูป ดี ภาพสวยมาก
  6. ดูหนังได้ mov mp4 m4v
 
DLNA Media Player for Android
 เป็นเหมือนบราว์เซอร์ไว้เล่นหนัง เพลง และภาพในเครื่อง และผ่าน DLNA ในตัวเดียว  ภาคนี้ใช้ Archos 70IT เป็นตัวฮาร์ดแวร์  ใช้ฟรีแวร์ชื่อ UPnPlay / HomeDia /  

iMediaShare lite
 
UPnPlay
  • เปิดด้วยโปรแกรมภายนอกติดเครื่องของ Archos* ทำให้ลื่น จอใหญ่ เสียงดี สมูธ
  •  * แอพ Video อ่านไฟล์ AVI, MP4, MOV, 3GP, MPG, PS, TS, VOB, MKV, FLV, RM, RMVB, ASF ภาพเต็มจอ
 
 
*
Digital media servers (DMS) ตัวเซิร์ฟเวอร์
Digital media players (DMP) ตัวเล่นภาพ เสียง หนัง
Digital media controllers (DMC) ตัวควบคุมหรือรีโมทคอนโทรล
Digital media renderers (DMR) ตัวรับแสดงภาพ

 

 
สรุป
 
เรา เคยพูดถึงตัว เล่นหนังแบบไวไฟสตรีมมิ่ง ตัวใดมีประสิทธิภาพมาก เล่นหนังได้เยอะ ไม่สะดุด เล่นได้เร็ว สิ่งที่มันยังขาดอยู่ก็คือมาตรฐานการสั่งงาน-รับงานระหว่างอุปกรณ์ โดยมากประสิทธิภาพมากแลกมาด้วยระบบปิด ไม่มีผู้ใดใช้ได้นอกจากผู้ผลิตนั้น สุดท้ายก็มักล้มหายตายจาก ใช้งานในวงแคบๆ เพื่อใครสักคนดูหนังในบ้านตัวเอง อย่าง Video Stream จำกัดอยู่แค่ PC/Mac และไอแพด หากขยายขอบข่ายไปสูอุปกรณ์ไฟฟ้าและเน็ตเวิร์คในบ้านจะเป็นอย่างไร
 

DLNA เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ DLNA มีดีตรงมีมาตรฐานกลาง มีทีวี/โปรเจ็คเตอร์เป็นทาสคอยแสดงผล หาเซิร์พเวอร์ง่าย หาเพลย์เยอร์ก็ง่าย เน็ตเวิร์คทำเองง่ายๆในบ้าน มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นรีโมท ทีวีจึงกลายเป็นศูนย์กลางการแสดงภาพ วิดีโอ คาราโอเกะในบ้าน มันไม่เหมือน FTP/Samba/uPnP ที่รองรับคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ แต่ส่วนใหญ่คือ ทีวีและโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีกันเกลื่อนเมืองแล้ว

 
ห้องประชุม/ห้องโสตฯ/ห้องเรียน สมัยนี้ควรมีทีวี/โปรเจ็คเตอร์รองรับ DLNA ไว้
โทรศัพท์มือถือ/แพดควรมี DLNA Player ติดเครื่องไว้
ผู้ผลิตเสื่อการเรียนก็ควรมี DLNA Server ไว้ในพีซี
ร้านคาราโอเกะก็ควรมี DLNA ทุกตัวไว้ในร้าน
 
ส่วนแอนดรอยด์ใช้ DLNA ได้ง่ายกว่าบนไอแพด เพียงแต่คุณภาพความเสถียรค่อนข้างตํ่าโดยรวม  
ถ้าบ้านไหนมีทั้งแอนดรอยด์และไอแพด เอาแอนดรอยด์มาทำเซิร์ฟเวอร์ดูหนังบนไอแพด เปลี่ยนหนังแค่เปลี่ยนการ์ดไมโครเอสดี ….So cool
 
“Windows=Serviio <==>  “iPad=  8playerlite
“Android=BubbleUPnP Media Server <==>  “iPad= XBMCM..HD/AcePlayer
 
 
 

USB Sharp Pro เก็บไฟล์บนไอแพด   Leave a comment

USB Sharp Pro

เป็นแอพไอแพดและไอโฟนขนาดเล็ก เปิดดูได้สารพัดนามสกุล สะดวกการโอนไฟล์-จัดการไฟล์ได้ทีละมากๆ จากหลายๆแหล่ง
ตั้งโฟลเดอร์พร้อมรหัสล็อคประจำโฟลเดอร์แก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงทีหลังได้  บีบอัดเป็น zip ก้ได้
ยังรองรับมัลติทัชเพื่อซูมไฟล์บนไอแพด

มี open with เพื่อเปิดด้วยโปรแกรมอื่น/ดึงไฟล์ผ่าน  open with อื่นๆก็เช่น
  • ดึงไฟล์จาก photo library แบบรวดเดียวทีละมากๆ
  • ดึงโอนไฟล์ผ่านไวไฟได้พร้อมๆกันทีละหลายๆไฟล์  จะลบพร้อมกันจากพีซี
  • สามารถดึงไฟล์มาบนพีซีแบบยกโฟเดอร์ด้วยการทำ ZIP บน wifi-tranfer หน้าเว็บเพจ ใช้เวลาสั้นมากๆ  เวลาใฃ้งานอาจถามรหัสล็อคถ้าตั้งล็อคโฟลเดอร์ไว้ ต่อด้วยการ ZIP และดึงไฟล์ด้วยตัวช่วยดาว์นโหลดเช่น  IDM (Internet Download Manager)
* ตัวเล่นภาพ View, Zoom, move /บุ๊คมาร์คไฟล์
* เรียงไฟล์ด้วยดัชนี file name, time , type, file size
* View, copy, move, delete, rename, email, zip Compression และ unzip files/folders* ฟังก์ชัน Glide deleting
* รองรับส่งไฟล์ผ่าน Email แบบยก files, folder
* ทำทัมป์เนลรูปภาพ / แสดงไฟล์รองรับแสดงเต็มจอ
* รองรับการค้นหาไฟล์/โฟลเดอร์
 
USBSharp รองรับไฟล์:
e-book: .epub
Plain text: .txt
Document: .pdf .csv .rtf .rtfd .doc .docx .xls .xlsx .ppt .pptx (office 2003)
Image: .png .jpg .jpeg .gif .bmp .xbm .tif .tiff
Audio: .mp3 .m4a .aac
Video: .mp4 .mov .m4v .3gp
Web: .htm .html .xhtml
Compressed: .zip .rar
.
.
การโอนไฟล์
ไฟล์จาก PC ไปเก็บบนไอแพดผ่านทางไวไฟ
USB Sharp <==>Dropbox
USB Sharp <==>PC
USB Sharp <==>Camera Rolls
USB Sharp ==>LINE ,FlickStackr
USB Sharp <==>FileExplorer
.
การใช้งานดึงออกจากไอแพดไปพีซี
USB Sharp Pro เหมาะไว้พักไฟล์จาก Camera Rolls และดึงออกจากไอแพดไปพีซี  500รูปใช้เวลา 2-3นาทีเดียว ขั้นตอนคือ
บนไอแพด โดย USB Sharp Pro
  • เลือกไฟล์จาก Camera Rolls ใส่โฟลเดอร์ –>(ทำบนพีซี)

บนวินโดว์/Chrome  เช่น http://192.168.1.3:41491/

  • เลือกโฟลเดอร์ แล้วกดปุ่ม ZIP ,USB Sharp Pro จะบีบไฟล์ แล้วจะเปิดโปรแกรม Download โดยอัตโนมัติ
0k. วิธีนี้เวิร์คกว่าใช้ itune หรือ Dropbox เร็วกว่ามาก
.
.
การอัพโหลดไฟล์-โฟลเดอร์ขึ้นบน Dropbox
เมื่ออยู่ที่หน้าต่าง Dropbox กดเครื่องหมาย + เพื่อเข้าไปที่หน้า File Explorer ของ USB Sharp Pro
.
การดาว์นโหลดไฟล์-โฟลเดอร์จาก Dropbox
เมื่ออยู่ที่หน้าต่าง Dropbox กดเครื่องหมาย [v] ท้ายไฟล์
.
การ rename/cut/copy ไฟล์-โฟลเดอร์จาก Dropbox
เมื่ออยู่ที่หน้าต่าง Dropbox กดเครื่องหมาย [v] ท้ายไฟล์ค้างไว้

Posted 15 สิงหาคม 2012 by The PAT in ไอทีอุปกรณ์และโปรแกรม

Tagged with